CAC
ขั้นตอนการเข้าร่วม CAC มีอะไรบ้าง?
การยื่นขอรับรอง
Checklist
การสร้างความเปลี่ยนแปลง
SME

FAQ

CAC

CAC คืออะไร?

แนวร่วมปฏิบัติของภาคเอกชนไทยในการต่อต้านการทุจริต (CAC) เป็นความริเริ่มของภาคเอกชนไทยในการที่จะเข้ามามีส่วนร่วมในการแก้ไขปัญหาการทุจริตคอร์รัปชัน โดยมุ่งสร้างและขยายแนวร่วมในภาคเอกชนในรูปแบบของ collective action เพื่อสร้างกระแสการต่อต้านการทุจริตคอร์รัปชันด้วยการส่งเสริมให้บริษัทต่างๆ กำหนดนโยบายและแนวปฏิบัติในการที่จะปฏิเสธการรับและจ่ายสินบน รวมถึงการทุจริตคอร์รัปชันในทุกรูปแบบ

โครงการ CAC จัดตั้งขึ้นเมื่อปี 2553 โดยองค์กรธุรกิจชั้นนำของประเทศซึ่งได้แก่ สมาคมส่งเสริมสถาบันกรรมการบริษัทไทย (IOD) หอการค้าไทย หอการค้าร่วมต่างประเทศในประเทศไทย (JFCCT) สมาคมบริษัทจดทะเบียนไทย สมาคมธนาคารไทย สภาธุรกิจตลาดทุนไทย สภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย และสภาอุตสาหกรรมการท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย โดยมี IOD ทำหน้าที่เป็นเลขานุการและรับบทนำในการสนับสนุนการขับเคลื่อนโครงการ ทั้งนี้ ผู้สนับสนุนหลักของโครงการ CAC คือ Center for International Private Enterprise (CIPE) ซึ่งเป็นหน่วยงานของประเทศสหรัฐอเมริกา

CAC เป็นองค์กรของรัฐบาลหรือเปล่า?

CAC เป็นองค์กรที่ก่อตั้ง และดำเนินงานโดยภาคธุรกิจเอกชนไทย ไม่ได้เป็นองค์กรในภาครัฐ

เงินทุนสนับสนุนการดำเนินงานของ CAC มาจากไหน?

CAC รับการสนับสนุนทางการเงินจากบริษัทเอกชนไทย และ Center for International Private Enterprise (CIPE) ซึ่งเป็นหน่วยงานของประเทศสหรัฐอเมริกา

CAC รับรองอะไร?

CAC ตรวจสอบเอกสารประกอบ checklist ที่บริษัทยื่นเข้าพอ และให้การรับรองว่าบริษัทมีนโยบาย และแนวปฏิบัติเพื่อป้องกันการจ่ายสินบนครบถ้วนตามเกณฑ์ที่ CAC กำหนด ซึ่งปรับจากแนวปฏิบัติของ Transparency International ให้สอดคล้องกับบริบทของภาคเอกชนไทย

ทั้งนี้ CAC ไม่ได้รับรองพฤติกรรมของบุคลากรในบริษัท และไม่ได้รับรองว่าบริษัทจะไม่เข้าไปเกี่ยวข้องกับปัญหาการจ่ายสินบน

CAC ทำงานร่วมกับหน่วยงานต่อต้านคอร์รัปชันอื่นๆ หรือไม่?

CAC ทำงานแบบคู่ขนาน และมีการประสานงานอย่างใกล้ชิดกับสำนักงานคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ (ปปช.) ในภาครัฐ และองค์กรต่อต้านคอร์รัปชัน (ประเทศไทย) หรือ ACT ซึ่งดูแลในด้านของประชาสังคม นอกจากนี้ CAC ยังแลกเปลี่ยนความรู้ และประสบการณ์ที่เกี่ยวข้องกับงานต่อต้านคอร์รัปชันกับองค์กรระหว่างประเทศอย่างสม่ำเสมอด้วย

ขั้นตอนการเข้าร่วม CAC มีอะไรบ้าง?

บริษัทที่ต้องการเข้าร่วมกับ CAC ต้องทำอย่างไร
  • บริษัทที่ต้องการเข้าร่วมกับ CAC จะต้องลงทะเบียน ชำระค่าธรรมเนียม และยื่นประกาศเจตนารมณ์ผ่านระบบออนไลน์ทางเว็บไซต์ CAC (thai-cac.com) โดยให้ประธานกรรมการของบริษัทหรือผู้บริหารสูงสุดของบริษัทลงนามในใบประกาศเจตนารมณ์
  • CAC จะตรวจสอบความสมบูรณ์ของใบประกาศเจตนารมณ์ที่บริษัทยื่นเข้ามาและให้ประธานของ CAC ลงนามในใบประกาศเจตนารมณ์ โดยทาง CAC จะตอบกลับไปยังบริษัทภายใน 10 วันทำการ เมื่อทาง CAC upload ใบประกาศเจตนารมณ์ที่มีการลงนามโดยทั้ง 2 ท่านแล้ว จึงจะถือว่าการประกาศเจตนารมณ์นั้นสมบูรณ์ และบริษัทสามารถใช้สัญลักษณ์ CAC Declared ได้
ใบประกาศเจตนารมณ์คืออะไร
  • ใบประกาศเจตนารมณ์ คือแบบฟอร์มที่ระบุถึงเจตนารมณ์ของบริษัทในการที่จะเข้าร่วมเป็นส่วนหนึ่งในความพยายามของภาคเอกชนไทยในการแก้ไขปัญหาคอร์รัปชัน รวมถึงความรับผิดชอบของบริษัทในการเข้าร่วม CAC
  • นอกจากนี้ ใบประกาศเจตนารมณ์ ยังระบุถึงหลักการดำเนินงานของ CAC และกระบวนการ Incident Management กรณีที่บริษัทเกิดมีข่าวเกี่ยวข้องกับคอร์รัปชันด้วย
  • ในการประกาศเจตนารมณ์กับ CAC บริษัทต้องให้ประธานกรรมการบริษัท หรือผู้บริหารสูงสุดของบริษัท ลงนาม ซึ่งจะเป็นการเริ่มนับกรอบเวลา 18 เดือน ที่บริษัทสามารถใช้เตรียมตัวเพื่อยื่นขอรับรอง
การประกาศเจตนารมณ์มีส่วนเกี่ยวข้องกับกระบวนการรับรองอย่างไร?

การประกาศเจตนารมณ์ ถือเป็นขั้นตอนแรกในกระบวนยื่นขอรับรองเพื่อเป็นสมาชิก CAC โดยสมบูรณ์ โดยถือเป็นการแสดงเจตนารมณ์ของบริษัทที่จะเข้าร่วมเป็นสมาชิก CAC การประกาศเจตนารมณ์เป็นการเริ่มนับกรอบเวลา 18 เดือน ที่ CAC กำหนดให้บริษัทต้อยยื่นเอกสารเพื่อขอการรับรองจาก CAC

สำหรับในกรณีของ SMEs กรอบเวลา 18 เดือนนี้ รวมถึงระยะเวลาที่บริษัทจะต้องจ้างให้ผู้ตรวจสอบอิสระทำการตรวจสอบและยืนยันเอกสารสนับสนุน checklist ทั้ง 17 ข้อด้วย

การยื่นใบประกาศเจตนารมณ์ต้องทำอย่างไร?

บริษัทต้องลงทะเบียนทางเว็บไซต์ CAC ในหน้า Join Us ภายใต้หัวข้อ ประกาศเจตนารมณ์ ก่อน แล้วจึงจะสามารถดาวน์โหลดใบประกาศเจตนารมณ์เพื่อให้ประธานบริษัทลงนามได้

เมื่อยื่นใบประกาศเจตนารมณ์แล้ว บริษัทต้องทำอะไรต่อ?
  • บริษัทที่ประกาศเจตนารมณ์แล้ว มีเวลา 18 เดือน ในการเตรียมเอกสารตามแบบประเมินตนเอง 71 ข้อ หรือ 17 ข้อ (ตามเกณฑ์ที่ประกาศใช้วันที่ 1 กรกฎาคม 2567) และยื่นเอกสารเพื่อขอการรับรองจาก CAC
  • หากบริษัทไม่สามารถยื่นเอกสารประกอบแบบประเมินตนเองได้ภายในกรอบเวลา 18 เดือน บริษัทจะถูกปรับสถานะจาก Signatory เป็น Black Out ซึ่งจะทำให้บริษัทพ้นสภาพการประกาศเจตนารมณ์ และจะต้องรอเวลาหกเดือนจึงจะสามารถยื่นขอประกาศเจตนารมณ์รอบใหม่ได้
  • สำหรับบริษัท SMEs (ตามเกณฑ์ที่ประกาศใช้วันที่ 1 กรกฎาคม 2567) หากบริษัทไม่สามารถหาผู้ตรวจเอกสารเพื่อยื่นขอการรับรองได้ภายในกรอบเวลา 18 เดือน จะสามารถขยายเวลาการยื่นเอกสารประกอบแบบประเมินตนเองได้อีก 12 เดือน หากบริษัทไม่สามารถยื่นเอกสารประกอบแบบประเมินตนเองได้ภายในกรอบเวลา 18 + 12 เดือน บริษัทจะถูกปรับสถานะจาก Signatory เป็น Black Out ซึ่งจะทำให้บริษัทพ้นสภาพการประกาศเจตนารมณ์ และจะต้องรอเวลาหกเดือนจึงจะสามารถยื่นขอประกาศเจตนารมณ์รอบใหม่ได้
ใครต้องเป็นคนลงนามในใบประกาศเจตนารมณ์?

ประธานกรรมการของบริษัทต้องเป็นผู้ลงนามในใบประกาศเจตนารมณ์

บริษัทในกลุ่มสามารถเข้าร่วม CAC โดยลงนามในใบประกาศเจตนารมณ์ใบเดียวกันได้หรือไม่?
  • การรับรองของ CAC จะเป็นการรับรองบริษัทแต่ละแห่ง (นิติบุคคล) เท่านั้น ไม่ได้รับรองทั้งเครือ ดังนั้น บริษัทแต่ละแห่ง ไม่ว่าจะเป็นบริษัทในเครือ หรือ บริษัทลูก จะต้องยื่นใบประกาศเจตนารมณ์แยกกัน และจะต้องแยกยื่นขอการรับรองจาก CAC แต่อย่างไรก็ตาม บริษัทในเครืออาจจะใช้คณะกรรมการตรวจสอบคณะเดียวกัน หรือ ผู้ตรวจสอบภายนอกคนเดียวกันได้
บริษัทสามารถประกาศเจตนารมณ์ แต่ไม่ยื่นขอรับรองได้หรือไม่?
  • บริษัทที่ประสงค์จะเข้าร่วม CAC ควรมีความตั้งใจที่จะทำแบบประเมินตนเองเพื่อให้บริษัทมีมาตรการควบคุมภายในที่เหมาะสม เพื่อลดความเสี่ยงด้านคอร์รัปชัน
  • เมื่อยื่นใบประกาศเจตนารมณ์แล้ว บริษัทมีเวลา 18 เดือนเพื่อเตรียมเอกสาร ตรวจสอบเอกสาร และยื่นเอกสารเพื่อขอรับรอง ถ้าหากบริษัทไม่ยื่นขอรับรอง หรือ ไม่สามารถส่งเอกสารได้ทันภายในกำหนด 18 เดือน บริษัทจะถูกปรับสถานะเป็น Black Out ซึ่งจะทำให้บริษัทพ้นสภาพการประกาศเจตนารมณ์ และจะต้องรอเวลาหกเดือนจึงจะสามารถยื่นขอประกาศเจตนารมณ์รอบใหม่ได้
  • ทาง CAC จึงแนะนำให้บริษัทที่ประกาศเจตนารมณ์แล้ว วางแผน เตรียมตัว เพื่อยื่นเอกสารขอการรับรองจาก CAC ซึ่งทาง CAC มีคู่มือ ระบบสนับสนุน และเจ้าหน้าที่ที่พร้อมให้ความช่วยเหลือในการเตรียมเอกสาร

การยื่นขอรับรอง

หลังประกาศเจตนารมณ์แล้ว บริษัทจะต้องเตรียมตัวเพื่อยื่นขอรับรองนานแค่ไหน?

บริษัทมีเวลา 18 เดือนนับตั้งแต่วันที่ประกาศเจตนารมณ์จนถึงวันที่เอกสารทั้งหมดที่ผ่านการรับรองความถูกต้องโดยประธานคณะกรรมการตรวจสอบ หรือ ผู้ตรวจสอบอิสระถูกนำส่งให้กับ CAC เพื่อยื่นขอการรับรอง ยกเว้นแต่จะได้รับการพิจารณาขยายกรอบเวลาเป็นรายกรณี

กรอบเวลา 18 เดือนนับอย่างไร รวมวันหยุดราชการด้วยหรือไม่?

บริษัทสามารถตรวจสอบกำหนดการยื่นเอกสารเพื่อขอรับรองตามกรอบเวลา 18 เดือนของแต่ละบริษัทได้จากหน้าเว็บไซต์ของ CAC โดยการคำนวณกรอบเวลา 18 เดือนจะนับตามวันในปฏิทินซึ่งรวมถึงวันหยุดราชการด้วย

จะยื่นเอกสารเพื่อขอการรับรองได้เมื่อไหร่?

สำหรับบริษัทที่จะขอยื่นรับรองครั้งแรก ทางบริษัทสามารถยื่น checklist และเอกสารประกอบการพิจาณาได้หลังจากที่ยื่นประกาศเจตนารมณ์แล้ว แต่ต้องไม่เกินกรอบเวลา 18 เดือน โดย CAC จะพิจารณาเอกสารยื่นขอรับรองทุกไตรมาส โดยจะปิดรับเอกสารทุกวันสุดท้ายของแต่ละไตรมาส ได้แก่ วันที่ 31 มีนาคม, 30 มิถุนายน, 30 กันยายน และ 31 ธันวาคม

ทั้งนี้ บริษัทที่จะยื่นต่ออายุการรับรอง ก็ต้องใช้วันปิดรับเอกสารเดียวกัน

ถ้าหากยื่นเอกสารเพื่อขอรับรองไม่ทันกรอบเวลา 18 เดือนจะสามารถขอขยายเวลาได้หรือไม่?

CAC อาจจะพิจารณาขยายเวลาให้อีก 6 เดือน โดยบริษัทต้องส่งจดหมายขอขยายเวลาการยื่นขอรับรองมาทางฝ่ายเลขานุการล่วงหน้า 3 เดือนก่อนหมดอายุ แต่หลังจากที่ขยายให้ 6 เดือนแล้วบริษัทยังคงไม่สามารถยื่นเอกสารขอรับรองได้ทีนอีก ก็จะถูกปรับสถานะเป็น “ Blackout” และจะต้องรออีก 6 เดือนจึงจะสามารถกลับมาประกาศเจตนารมณ์ใหม่และยื่นเอกสารขอรับรองได้

การยื่นเอกสารเพื่อขอรับรองต้องทำอย่างไร?

บริษัทต้องยื่นเอกสารที่เป็นไฟล์ใส่ USB Flash Drive พร้อมแนบแบบประเมินที่ฉบับจริงที่ได้รับการลงนาม มายัง CAC และเพื่อความปลอดภัยของข้อมูล ควรใส่ password ในการดูไฟล์ใน USB Flash Drive มาด้วย พร้อมแจ้ง password กับทาง CAC ผ่านทางอีเมล

ตั้งแต่วันที่ 1 กรกฎาคม 2565 เป็นต้นไปทุกบริษัทจะต้องยื่นขอรับรองผ่านระบบ Online โดยสามารถดูขั้นตอนได้ที่นี้ (ขั้นตอนการยื่นขอรับรอง Online)

ทั้งนี้ ทาง CAC ของดรับเอกสารประกอบแบบประเมินที่เป็นกระดาษและจะหากได้รับ จะขอสงวนสิทธิในการส่งคืนบริษัท

การยื่นขอรับรองมีค่าใช้จ่ายอะไรบ้าง?

สำหรับบริษัทขนาดใหญ่ที่ต้องส่ง checklist 71 ข้อ จะมีค่าธรรมเนียมการยื่นขอรับรอง 25,000 บาท ซึ่งจะต้องจ่ายก่อนที่จะยื่นเอกสารเพื่อขอการรับรองจาก CAC โดยค่ารับรองนี้ จะครอบคลุมค่าใช้จ่ายของทีมงาน CAC และคณะกรรมการพิจารณารับรองในการตรวจสอบเอกสารที่บริษัทยื่นเข้ามาเพื่อขอรับรอง

สำหรับบริษัท SME ทาง CAC คิดค่าธรรมเนียมการยื่นขอรับรอง 15,000 บาท สำหรับขนาด L ที่มีมูลค่ารายได้ 500-1000 ล้านบาท และ 8,000 บาท สำหรับบริษัทขนาดกลางและขนาดเล็ก มีรายได้ต่ำกว่า 500 ล้านบาท ซึ่งจะครอบคลุมค่าใช้จ่ายของทีมงาน CAC และคณะกรรมการพิจารณารับรองในการตรวจสอบเอกสารที่บริษัทยื่นเข้ามาเพื่อขอรับรอง รวมถึงการดูแลเว็บไซต์สำหรับการยื่นเอกสาร/e-learning ทั้งนี้ หลังจากที่ SME ได้อัพโหลดเอกสารเพื่อยื่นขอรับรองแล้ว จะต้องส่งอีเมล์มาที่ CAC เพื่อขอให้ CAC ออกใบ invoice เพื่อชำระค่าธรรมเนียม

หมายเหตุ สำหรับ SME จะมีค่าใช้จ่ายในการจ้างผู้ตรวจสอบอิสระเพื่อรับรองเอกสารตาม checklist ซึ่ง CAC ประเมินว่าผู้ตรวจสอบอิสระจะต้องใช้เวลาทำงานประมาณ 3-5 วันขึ้นอยู่กับความซับซ้อนของธุรกิจ และคุณภาพของเอกสารที่บริษัทเตรียมไว้ ซึ่งจะคิดเป็นค่าธรรมเนียมประมาณ 25,000-50,000 บาท

บริษัทจะส่งร่างเอกสาร checklist ให้ CAC ตรวจก่อนยื่นขอรับรองได้หรือไม่?

ไม่ได้ แต่ ทางบริษัทสามารถเข้าร่วมงาน CAC Road to Certify เพื่อรับข้อมูลเพิ่มเติมเกี่ยวกับการรับรองและสอบถามเกี่ยวกับการเตรียมเอกสารได้

CAC จะประกาศผลการรับรองเมื่อไหร่

CAC จะประกาศผลการพิจารณารับรองภายในวันสุดท้ายของไตรมาสถัดไป ยกเว้นกรณีที่เอกสารที่บริษัทยื่นเข้ามายังไม่ครบถ้วน ครอบคลุมตามที่ CAC กำหนด ทางบริษัทจะได้รับแจ้งให้แก้ไขเอกสาร และยื่นเข้ามาที่ CAC ใหม่ ถ้าหากว่าบริษัทแก้ไขเอกสารและยื่นใหม่แล้วแต่เอกสารยังไม่ครบถ้วนครอบคลุมตามที่ CAC กำหนดไว้อีก บริษัทก็จะต้องกลับไปปรับปรุงเอกสาร และยื่นขอรับรองใหม่ในไตรมาสถัดไป

การขอต่ออายุการรับรองต้องดำเนินการอย่างไร?

การรับรองของ CAC มีอายุ 3 ปี บริษัทที่ต้องการขอต่ออายุการรับรองควรยื่นเอกสาร checklist อย่างน้อยสามเดือนก่อนที่การรับรองจะหมดอายุ ทั้งนี้ ในการขอต่ออายุการรับรอง บริษัทไม่จำเป็นต้องยืนประกาศเจตนารมณ์ซ้ำอีก

Checklist

บริษัทต้องส่งเอกสาร checklist ให้ CAC ด้วยวิธีใด?

บริษัทต้องยื่นเอกสารที่เป็นไฟล์ใส่ USB Flash Drive พร้อมแนบแบบประเมินที่ฉบับจริงที่ได้รับการลงนาม มายัง CAC และเพื่อความปลอดภัยของข้อมูล ควรใส่ password ในการดูไฟล์ใน USB Flash Drive มาด้วย พร้อมแจ้ง password กับทาง CAC ผ่านทางอีเมล

ตั้งแต่วันที่ 1 กรกฎาคม 2565 เป็นต้นไปทุกบริษัทจะต้องยื่นขอรับรองผ่านระบบ Online โดยสามารถดูขั้นตอนได้ที่นี้ (ขั้นตอนการยื่นขอรับรอง Online)

ทั้งนี้ ทาง CAC ของดรับเอกสารประกอบแบบประเมินที่เป็นกระดาษและจะหากได้รับ จะขอสงวนสิทธิในการส่งคืนบริษัท

ถ้าบริษัทมีนโยบายต่อต้านคอร์รัปชันอยู่ แล้ว แต่รวมอยู่กับนโยบายอื่นๆ จำเป็นต้องแยกนโยบายต่อต้านคอร์รัปชันออกมาหรือไม่? (Checklist 1)

เพื่อให้เกิดความชัดเจน บริษัทจำเป็นต้องแยกนโยบายต่อต้านคอร์รัปชันออกมาเป็นการเฉพาะ

การดำเนินงานทุกขั้นตอนจำเป็นต้องผ่านการอนุมัติของคณะกรรมการบริษัทหรือไม่? (Checklist Version 4.0)

การดำเนินงานทุกขั้นตอนต้องผ่านการอนุมัติของคณะกรรมการบริษัท เพราะการขออนุมัติจะเพิ่มความตระหนักของคณะกรรมการและผู้บริหารเกี่ยวกับขั้นตอนการดำเนินงานใหม่ๆ และกิจกรรมที่เกี่ยวข้อง

บริษัทจะประเมินความเสี่ยงคอร์รัปชันได้อย่างไร? (Checklist 1)

บริษัทต้องเริ่มต้นจากการประเมินความเสี่ยงของการรับ-จ่ายสินบน และคอร์รัปชัน ซึ่งอาจจะส่งผลกระทบกับธุรกิจ หรือกิจกรรมการดำเนินงาน โดยบริษัทจะต้องระบุเพียงความเสี่ยงสินบน และคอร์รัปชันเท่านั้น โดยไม่รวมถึงความเสี่ยงของการยักยอก หรือการทุจริตของพนักงาน หลังจากที่มีการระบุความเสี่ยงแล้ว บริษัทต้องทำการประเมินความรุนแรงของผลกระทบ และโอกาสในการเกิด และคำนวณเป็นคะแนนความเสี่ยง เพื่อใช้ในการจัดลำดับตามความสูงต่ำของคะแนนความเสี่ยง

 

ทาง CAC มี Risk Assessment template ให้บริษัทใช้เป็นตัวอย่างในหน้า Resource

ทำไมต้องมีกระดาษทำการ

การจัดทำกระดาษทำการ (Working Paper) เป็นการสอบทานความเพียงพอของมาตรการต่อต้านการคอร์รัปชันที่องค์กรมี เพื่อให้ผู้บริหารและคณะกรรมการได้มั่นใจว่ามาตรการต่อต้านการคอร์รัปชันขององค์กรมีประสิทธิภาพประสิทธิผล และสามารถปฏิบัติได้จริง

ต้องยื่นตอนไหน และต้องแนบใน Checklist ข้อที่เท่าไร

สำหรับบริษัทที่ยื่นขอรับรองกับ CAC ครั้งที่ 3 และ บริษัทสามารถแนบเป็นเอกสารอ้างอิงใน Checklist ข้อที่ 71 ได้เลย

การสร้างความเปลี่ยนแปลง

หลังจากผ่านการรับรองแล้ว บริษัทยังมีภาระรับผิดชอบอย่างไรอีกบ้าง?

หลังจากที่บริษัทผ่านการรับรองแล้ว CAC จะเชิญตัวแทนของบริษัทเข้าร่วมพิธีมอบใบประกาศนียบัตรของ CAC ซึ่งจัดขึ้นเป็นประจำปีละสองครั้ง

บริษัทที่ผ่านการรับรองจาก CAC แล้วจะต้องคอยตรวจสอบว่าความเสี่ยง และมาตรการควบคุมที่มีอยู่มีประสิทธิภาพสอดคล้องกับสภาวะปัจจุบัน และความเสี่ยงใหม่ๆ ทั้งนี้ หากมีการกำหนดมาตรการควบคุมใหม่ต้องผ่านการอนุมัติและสื่อสารอย่างเหมาะสม ทั้งนี้ บริษัทจะต้องยื่นขอต่ออายุการรับรองทุก 3 ปีโดยจะต้องยื่นขอต่ออายุล่วงหน้าก่อนที่จะหมดอายุ 3 เดือน

Change Agent คืออะไร?

CAC Change Agent คือ โครงการพิเศษที่แนวร่วมต่อต้านคอร์รัปชันของภาคเอกชนไทย (CAC) เชิญชวนบริษัทที่ผ่านการรับรองกับ CAC และให้ความสำคัญกับการขยายเครือข่ายธุรกิจโปร่งใสไปยังบริษัทคู่ค้า โดยการสนับสนุนให้บริษัทคู่ค้าของตนเข้าร่วม CAC ในโครงการรับรอง SME  ซึ่งปัจจุบันมีบริษัทที่เข้าร่วมเป็น Change Agent มากกว่า 40 บริษัท สามารถดูข้อมูลเพิ่มเติมได้ ที่นี้(โครงการ CAC Change Agent)และใบสมัครเข้าร่วมโครงการ CAC Change Agent คลิก

SME

My company has previously submitted the Declaration of Intent in the 71 checklist program, can the company switch to apply for the SME's 17 checklist certification?

Yes, if your company meets the 3 SME criteria. Your company do not need to resubmit the Declaration of Intent. However, the 18-month deadline will still be the same, starting from the original Declaration date.

บริษัทจำเป็นต้องใช้หลักสูตรฝึกอบรมต่อต้านสินบนแบบออนไลน์ของ CAC หรือไม่?

บริษัทมีสิทธิ์ที่จะใช่หลักสูตรฝึกอบรมต่อต้านสินบนแบบออนไลน์ของ CAC ได้โดยไม่ต้องเสียค่าใช้จ่าย แต่บริษัทจะเลือกไม่ใช้ก็ได้ อย่างไรก็ตาม ถ้าบริษัทอยากจะจัดฝึกอบรมแบบ in-house CAC แนะนำว่าหัวข้อการฝึกอบรมควรจะครอบคลุมตาม outline ที่ระบุใน SME Anti-bribery toolkit หน้า 58

โครงการรับรอง SME เริ่มต้นเมื่อไหร่?

โครงการรับรอง SME เริ่มต้นในเดือนมกราคม 2561 โดยมีการจัด SME Executive Briefing ครั้งแรกเมื่อวันที่ 14 กุมภาพันธ์2561

SME ในความหมายของ CAC คือบริษัทประเภทใด

SME ตามนิยามของ CAC ต้องมีคุณสมบัติดังต่อไป

  1. ไม่ได้จดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย
  2. ไม่ได้เป็นบริษัทลูกของบริษัทที่จดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย และ
  3. ไม่ได้เป็นบริษัทลูกของบริษัทที่จดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย และ
SME จะสามารถยื่นขอรับรองตามกระบวนการของบริษัทใหญ่ได้หรือไม่?

SMEs สามารถเลือกยื่นขอรับรองโดยใช้ 71 ข้อสำหรับบริษัทใหญ่ หรือ checklist 17 ข้อสำหรับ SME ก็ได้

SME ต้องใช้ผูู้ตรวจสอบอิสระที่มีคุณสมบัติใดบ้าง

ในการยื่นขอรับรองตามโครงการรับรอง SME ทาง CAC จะยอมรับการตรวจเอกสารโดยผู้ตรวจสอบที่มีคุณสมบัติข้อใดข้อหนึ่งดังต่อไปนี้ ซึ่งจะต้องสมัครและผ่านการอบรมหลักสูตรผู้ตรวจสอบอิสระของ CAC เสียก่อน

  1. ประธานคณะกรรมการตรวจสอบ ซึ่งจะเป็นตัวแทนของคณะกรรมการตรวจสอบ และอนุมัติการยื่นเอกสารในนามของคณะกรรมการตรวจสอบ ทั้งนี้ กรรมการในคณะกรรมการตรวจสอบจะต้องมีคุณสมบัติตรงตรมเกณฑ์ที่ กลต. กำหนดเอาไว้
  2. ผู้ตรวจสอบบัญชีที่ได้รับการว่าจ้างให้ทำการตรวจสอบงบการเงินปีปัจจุบัน/ปีก่อนหน้าของบริษัท
  3. ผู้ตรวจสอบบัญชีที่ผ่านความเห็นชอบของ กลต.
  4. ผู้ตรวจสอบภายในที่มีใบประกาศนียบัตรดังต่อไปนี้ :
    • Certified Internal Auditor (CIA)
    • Certified Professional Internal Auditors (CPIAT)

ข้อควรทราบ: ผู้ตรวจสอบอิสระในข้อ 2. และ 4. ต้องยื่นหลักฐานแสดงคุณสมบัติต่อ CAC ก่อนที่จะเข้าร่วมหลักสูตรฝึกอบรมผู้ตรวจสอบภายในของ CAC

ทำไมผู้ตรวจสอบอิสระที่จะรับรองเอกสารของ SME ถึงต้องผ่านการอบรมหลักสูตรผู้ตรวจสอบอิสระของ CAC ด้วย?

การอบรมหลักสูตรนี้จะเน้นไปที่การทำให้ผู้ตรวจสอบเข้าใจรายละเอียดของข้อกำหนดใน checklist17 ข้อ และวิธีที่จะประเมินความพอเพียงของเอกสารในการยื่นขอรับรองผ่านระบบออนไลน์ทางเว็บไซต์ของ CAC

การเข้าอบรมหลักสูตรผู้ตรวจสอบอิสระของ CAC มีค่าใช้จ่ายหรือไม่?

การเข้าอบรมมีค่าใช้จ่าย 5,000 บาท