เกี่ยวกับ CAC
องค์กรร่วมก่อตั้ง CAC
คณะกรรมการ CAC
ทีมงาน

      Thai Private Sector Collective Action  against Corruption (CAC) 

       CAC เป็นความริเริ่มของภาคเอกชนไทยในการเข้ามามีส่วนร่วมกับการแก้ปัญหาคอร์รัปชัน โดยผ่านการรวมตัวกันแบบ Collective Action     CAC ก่อตั้งขึ้นมาในปี 2553 โดยองค์ชั้นในภาคธุรกิจ เพื่อให้บริษัทในประเทศไทยที่เล็งเห็นความสำคัญของการประกอบธุรกิจอย่างโปร่งใส ไร้คอร์รัปชัน ได้เข้ามามีส่วนร่วมในการแก้ไขปัญหาการทุจริตคอร์รัปชันโดยความสมัครใจในรูปแบบของแนวร่วม หรือ Collective Action โดย CAC สนับสนุนให้บริษัทต่างๆ กำหนดนโยบาย ประเมินความเสี่ยง และวางแนวปฏิบัติเพื่อป้องกันการคอร์รัปชัน ซึ่งจะช่วยสร้างระบบนิเวศของการทำธุรกิจที่โปร่งใส ทั้งนี้ CAC ได้พัฒนาระบบการรับรองที่มีเอกลักษณ์เฉพาะสำหรับทั้งบริษัทขนาดใหญ่ กลาง และเล็ก ซึ่งช่วยให้บริษัทสามารถนำมาตรฐานการดำเนินงานที่สามารถควบคุมความเสี่ยงด้านคอร์รัปชันมาใช้ได้อย่างเป็นระบบและมีประสิทธิภาพ นอกจากนี้ CAC ยังทำหน้าที่เป็นกระบอกเสียงให้กับภาคธุรกิจเอกชนในเรื่องที่เกี่ยวข้องกับการต่อต้านคอร์รัปชันด้วย
CAC มีวัตถุประสงค์ที่สำคัญสามข้อ ได้แก่ 1) การสร้างการรวมตัวของธุรกิจที่โปร่งใสปราศจากการจ่าย-รับสินบน 2) การยกระดับมาตรฐานการดำเนินงานที่สามารถควบคุมความเสี่ยงด้านคอร์รัปชันของภาคธุรกิจเอกชน และ 3) การร่วมสร้างความเปลี่ยนแปลงในการให้บริการภาครัฐ เพื่อให้มีประสิทธิภาพและความโปร่งใสมากขึ้น
CAC เป็นการรวมตัวแบบ collective action เพียงหนึ่งเดียวของประเทศไทย ที่ริเริ่มโดยภาคธุรกิจเอกชน และมีเป้าหมายในการแก้ไขปัญหาคอร์รัปชัน การที่มีบริษัทมาร่วมประกาศเจตนารมณ์กับ CAC แล้วถึงมากกว่า 1,000 บริษัท และมีบริษัทที่ผ่านการรับรองว่ามีนโยบายและแนวปฏิบัติที่ชัดเจนเพื่อควบคุมความเสี่ยงคอร์รัปชันแล้วมากกว่าเกือบ 470 บริษัทในตลอดระยะเวลา 10 ปีที่ผ่านมา ทำให้ CAC กลายมาเป็นหนึ่งในโครงการต่อต้านคอร์รัปชันภาคเอกชนระดับแนวหน้าที่โดดเด่นในภูมิภาค
CAC ก่อตั้งมาตั้งแต่ปี 2553 ถึงปัจจุบันเป็นเวลานานถึง 10 ปีแล้ว มีจำนวนบริษัทที่เข้ามาร่วมประกาศเจตนารมณ์แล้วมากว่า 1,000 บริษัท และมีบริษัทที่ผ่านการรับรองจาก CAC แล้ว 472 บริษัท (Q1 2564) ซึ่งถือเป็นแนวร่วมที่เข้มแข็งของภาคเอกชน และทำให้โครงการ CAC อยู่ในระดับแนวหน้าของ แนวร่วม (Collective Action) ในโลกซึ่งมีหลายประเทศได้ติดต่อเข้ามาขอให้ CAC ถ่ายทอดประสบการณ์ เพื่อนำไปพัฒนาการสร้างแนวร่วมในประเทศของตนเอง นอกจากนี้ ยิ่งมีจำนวนบริษัทเข้ามาร่วมโครงการมากเท่าไหร่ก็ยิ่งทำให้การขับเคลื่อนเพื่อต่อต้านการทุจริตคอร์รัปชันในภาคเอกชนมีพลังมากขึ้นเท่านั้น
CAC มีองค์กรร่วมก่อตั้งเป็นองค์กรภาคธุรกิจ 8 องค์กรที่มีความเข้มแข็ง และเครือข่ายครอบคลุมไปในทุกภาคธุรกิจ ประกอบด้วย หอการค้าไทย สภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย หอการค้าร่วมต่างประเทศไทยประเทศไทย สมาคมธนาคารไทย สมาคมบริษัทจดทะเบียนไทย สภาธุรกิจตลาดทุนไทย สภาอุตสาหกรรมท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย และ สมาคมส่งเสริมสถาบันกรรมการบริษัทไทย ในฐานะเลขานุการที่รับบทนำในการขับเคลื่อนโครงการ CAC นอกจากนี้ CAC ยังทำงานใกล้ชิดกับองค์กรต่อต้านคอร์รัปชัน (ประเทศไทย) และประสานความร่วมมือกับองค์กรอื่นๆ ในภาครัฐอย่างเช่น สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาระบบราชการ (ก.พ.ร.) และ สำนักงานคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ (ป.ป.ช.) ด้วย สำหรับเครือข่ายในต่างประเทศนั้น CAC ก็ได้รับการยอมรับเป็นอย่างดีจากเวทีระดับนานาชาติ โดยได้ร่วมเป็นสมาชิก ASEAN CSR Network เป็นสมาชิก B20 Collective Action Hub และยังได้ร่วมเป็นพันธมิตรกับองค์กรระหว่างประเทศอย่างเช่น Organisation for Economic Co-operation and Development (OECD) และ United Nations Development Programme: (UNDP)

เครือข่ายของเรา

ในความพยายามที่จะแก้ไขปัญหาคอร์รัปชันในประเทศไทย CAC ทำงานอย่างใกล้ชิดกับพันธมิตรทั้งในประเทศ และต่างประเทศเพื่อสร้างการตระหนักรู้ถึงปัญหา และผลักดันให้เกิดการเปลี่ยนแปลง พันธมิตรหลักในต่างประเทศของเราคือ Center for International Private Enterprise (CIPE) ซึ่งเป็นหนึ่งในสี่สถาบันหลักของ National Endowment for Democracy และเป็นหน่วยงานที่อยู่ภายใต้หอการค้าสหรัฐอเมริกา โดย CIPE เป็นผู้สนับสนุนทางการเงินรายหลักของ CAC นอกจากนี้ CAC ก็ยังทำงานอย่างใกล้ชิดกับพันธมิตรในประเทศ อย่างเช่น องค์กรต่อต้านคอร์รัปชัน (ประเทศไทย) (ACT), HAND Enterprise, สถาบันวิจัยเพื่อการพัฒนาประเทศไทย (TDRI) เพื่อร่วมผนึกกำลังต่อต้านการทุจริตคอร์รัปชัน

ผู้สนับสนุน

CAC เป็นองค์กรที่ได้รับเงินทุนสนับสนุนจากภาคเอกชน 100% โดยมาจากผู้ให้การสนับสนุนทั้งในประเทศ และต่างประเทศ นอกจากนี้ CAC ยังจัดหารายได้บางส่วนจากการจัดฝึกอบรมหลักสูตรเกี่ยวกับการต่อต้านการคอร์รัปชัน และการสร้างภาวะผู้นำที่มีจริยธรรม

องค์กรร่วมก่อตั้ง CAC :

CAC ก่อตั้งขึ้นมาตั้งแต่ปี 2553 โดยแปดองค์กรชั้นนำของภาคเอกชนไทย ประกอบด้วย

  • หอการค้าร่วมต่างประเทศในประเทศไทย (JFCCT) : www.jfcct.org
  • สมาคมบริษัทจดทะเบียนไทยwww.thailca.com
  • สภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทยwww.fti.or.th
  • สภาธุรกิจตลาดทุนไทย : www.fetco.or.th
  • สมาคมส่งเสริมสถาบันกรรมการบริษัทไทย (IOD) ซึ่งรับหน้าที่เป็นเลขานุการโครงการ CAC และรับบทนำในการขับเคลื่อนโครงการwww.thai-iod.com

คณะกรรมการ CAC :

ประกอบด้วยกรรมการ 11 ท่านที่เป็นที่นับถือของสังคมในวงกว้าง ทั้งในแง่ของความสำเร็จในหน้าที่การงาน และด้านจริยธรรม โดยคณะกรรมการมีหน้าที่กำหนดนโยบายของ CAC รวมถึงการพิจารณาอนุมัติให้การรับรองแก่บริษัทที่ยื่นขอการรับรองจาก CAC คณะกรรมการชุดปัจจุบันของ CAC ประกอบด้วยผู้ทรงคุณวุฒิจากหลายสาขา โดยมีทั้ง อดีตรัฐมนตรี อดีตผู้ว่าการธนาคารแห่งประเทศไทย อดีตนายกสมาคมบริษัทจดทะเบียนไทย อดีตประธานองค์กรต่อต้านคอร์รัปชัน (ประเทศไทย) ประธานสมาคมส่งเสริมสถาบันกรรมการบริษัทไทย และนักวิชาการที่มีชื่อเสียง

คณะกรรมการพิจารณารับรอง :

ประกอบด้วยกรรมการเก้าท่าน ซึ่งเป็นผู้เชี่ยวชาญในสาขาต่างๆ ได้แก่ กฎหมายธุรกิจ การกำกับดูแลกิจการที่ดี การตรวจสอบภายใน การตรวจสอบทางการเงิน และตัวแทนจากบริษัทที่ผ่านการรับรองจาก CAC แล้ว คณะกรรมการพิจารณารับรอง มีหน้าที่พิจารณาคำขอรับรองและเอกสารประกอบการขอรับรองที่บริษัทต่างๆ ยื่นเข้ามา ว่ามีข้อมูลและหลักฐานที่มีน้ำหนักเพียงพอที่จะนำเสนอให้คณะกรรมการ CAC พิจารณาอนุมัติให้การรับรองหรือไม่

 

ทีมงาน :

นาย กุลเวช เจนวัฒนวิทย์

C้hief Executive Officer Thai IOD และ เลขานุการ CAC

คุณ กุลเวช ทำหน้าที่ที่ปรึกษา (Principle Advisor) ให้ CAC มาเป็นเวลาห้าปี ก่อนที่จะได้รับการแต่งตั้งเป็น CEO ของ IOD ตั้งแต่เมื่อปลายปี 2561 นอกจากนี้ คุณกุลเวช ยังเป็นกรรมการในคณะกรรมการนโยบายสถาบันการเงินของธนาคารแห่งประเทศไทย และเป็นสมาชิกคณะกรรมการพิจารณารางวัล Sustainability Development Award ของตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทยด้วย ก่อนหน้าที่จะร่วมงานกับ CAC และ IOD คุณกุลเวชเคยเป็น partner ของ PwC ในประเทศไทย

นายพรหเมศร์ เบ็ญจรงค์กิจ
ผู้อำนวยการ CACรับผิดชอบการกำหนดกลยุทธ์และการดำเนินงานโดยรวมของ CAC มีประสบการณ์การทำงานกว่า 20 ปี ในสายงานที่ปรึกษาทางธุรกิจ งานวางแผนและพัฒนากลยุทธ์ งานวิจัยทางการตลาดและการประเมินองค์กร กับหน่วยงานภาครัฐ ภาคเอกชนและองค์กรระหว่างประเทศ ในหลากหลายภาคธุรกิจ รวมถึงมีความคุ้นเคยกับการวางแผนงานการต่อต้านคอร์รัปชันให้กับองค์กร

คุณภิญญ์ ศิรประภาศิริ

ผู้จัดการโครงการ

เข้าร่วมงานกับ CAC เมื่อเดือนมิถุนายน 2566 โดยคุณภิญญ์มีประสบการณ์ทำงานเป็นอาจารย์และรองผู้อำนวยการโครงการภาคภาษาอังกฤษของคณะรัฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ นอกจากงานสอนและงานบริหาร คุณภิญญ์ได้รับเป็นที่ปรึกษาโครงการให้กับกระทรวงการต่างประเทศและสภาความมั่นคงแห่งชาติ และยังเคยเป็นนักวิเคราะห์ที่กองทุนการเงินระหว่างประเทศ นอกจากนี้ยังมีประสบการณ์ทำงานกับบริษัท KPMG กระทรวงการคลัง กระทรวงพาณิชย์กระทรวงการต่างประเทศ และธนาคารแห่งประเทศไทย คุณภิญญ์สำเร็จการศึกษาระดับปริญญาตรีในสาขารัฐศาสตร์และเศรษฐศาสตร์การเงิน จาก Brown University และ ระดับปริญญาโทในสาขา Global Governance and Diplomacy จาก University of Oxford และกำลังเขียนวิทยานิพนธ์ปริญญาเอกเรื่องเศรษฐศาสตร์การเมืองของมาตรการทางการค้าระหว่างประเทศ

 

นางสาว พลัฏฐ์ ตันชยะสิทธิ์

ผู้ช่วยผู้จัดการโครงการการรับรองบริษัทใหญ่

คุณ พลัฏฐ์ มีประสบการณ์การทำงาน 9 ปีในส่วนงานบริการลูกค้า และฝ่ายสนับสนุนการดำเนินงานให้กับ Shell Fleet Card และยังมีประสบการณ์ทำงานด้านจัดซื้ออีก 5 ปี คุณ พลัฏฐ์ ได้เข้ามาร่วมงานกับ CAC มาตั้งแต่เดือนมกราคม 2561 โดยทำหน้าที่สนับสนุนการจัดกิจกรรมต่างๆ ของ CAC โดยเฉพาะอย่างยิ่ง การเปิดตัวโครงการรับรอง SME นอกจากนี้ คุณ พลัฏฐ์ ดูแลในส่วนของการให้การรับรองบริษัทใหญ่ และยังช่วยประสานงานในการจัดงานสัมมนา และกิจกรรมต่าง ๆ รวมถึงการติดต่อกับสมาชิก การตอบข้อซักถามและอัพเดตข้อมูล รวมถึงงานด้านเอกสารที่เกี่ยวข้องอื่นๆ ด้วย

นางสาวณัฐสุรีย์ สุรเกียรติ

Administrative Co-ordinator / SME Program Leader

คุณณัฐสุรีย์ มีประสบการณ์ด้านเลขานุการ และประสานงานในบริษัทเอกชนมานานกว่า 5 ปี นอกจากนี้ ยังเคยเป็นเจ้าหน้าที่ด้านฝ่ายขายให้กับ บริษัท คิง เพาเวอร์ อินเตอร์เนชันแนล และ บริษัท สามารถ คอร์ปอเรชั่น จำกัด (มหาชน) คุณณัฐสุรีย์ ได้เข้ามาร่วมงานกับ CAC เมื่อเดือนกุมภาพันธ์ 2563 โดยทำหน้าที่สนับสนุนการทำกิจกรรมต่างๆของ CAC ร่วมกับคุณพลัฎ ตลอดจนเก็บและรวบรวมข้อมูลของบริษัทต่างๆ ทั้งที่ เป็นสมาชิก, กำลังจะเข้าร่วมเป็นสมาชิก และยังไม่เข้าร่วมเป็นสมาชิก เพื่อติดต่อเข้าพบประชาสัมพันธ์โครงการ CAC ให้คำปรึกษาและให้ข้อมูลกับบริษัท SME ที่สนใจเป็นสมาชิกกับ CAC อีกด้วย นอกจากนี้ ยังได้เข้ามาดูแลในส่วนของหลักสูตรของ CAC (ACPG, CRC, ELP, Anti-Corruption Working Paper), CAC Briefing, CAC Inhouse รวมไปถึง การจัดการอบรมพนักงานในองค์กรในเรื่อง Anti-Corruption จนกระทั่งในปี 2564 ได้เข้ามาดูแลงานหลักสูตรของ CAC อย่างเต็มตัว

นางสาวรินทร์ณฐา ธนโภคินมณีเลิศ

Senior Certification Officer

คุณรินทร์ณฐา มีประสบการณ์ด้านบัญชีและการตรวจสอบมากกว่า 12 ปี ทำหน้าที่สนับสนุนการทำกิจกรรมต่างๆ ที่เกี่ยวกับการรับรองบริษัทใหญ่ และ SME ของ CAC รวมถึงการวิเคราะห์ข้อมูลสำคัญที่เกี่ยวข้องกับการป้องกันการคอร์รัปชันของบริษัทเอกชนไทยเพื่อใช้ในการผลักดันให้เกิดการเปลี่ยนแปลงการบริหารจัดการและการให้บริการในหน่วยงานภาครัฐ คุณรินทร์ณฐาจบการศึกษาระดับปริญญาโทจากมหาวิทยาลัยหอการค้าไทย สาขาวิชาการตรวจสอบภายใน และจบการศึกษาระดับระดับปริญญาตรี สาขาการบัญชี จากมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลตะวันออก